Welcome to my blogger

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.
            สำหรับวันนี้อาจารย์เริ่มด้วยการพูดคุย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน จากนั้นอาจารย์ให้ดูรูปดอกลิลลี่ แล้วให้เราวาดรูปดอกลิลลี่ให้เหมือนที่สุด แล้วให้เขียนบรรยายว่าเห็นอะไรจากรูปดอกลิลลี่ที่อาจารย์ให้ดู 
รูปที่ทำกิจกรรม

                           
                           รูปตัวอย่างที่อาจารย์ให้ดู                  รูปที่ดิฉันวาด

          หลังจากทำกิจกรรมอาจารย์ได้เข้าสู้การสอนเนื้อหาเรื่องบทบาทครูปญมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
         การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
        -เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
        -ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
       -เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกตื
       -พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
       -พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
       -ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิด ความหวังผิดๆ
       -ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
      -ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
      -ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
      -สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
      -จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
     -ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู    

     -ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
     -ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา



                                             ตัวอย่างแบบสังเกตเด็กของครู



                           
           

การตรวจสอบ
     -จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร    
     -เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
     -บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
     -ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้   
     -พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
     -การนับอย่างง่ายๆ
     -การบันทึกต่อเนื่อง
     -การบันทึกไม่ต่อเนื่อ
การนับอย่างง่ายๆ
     -นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
     -กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
     -ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
     -ให้รายละเอียดได้มาก
     -เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
     -โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
     -ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
     -พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
    -ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
    -พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
            หลังจากสอนเนื้อหาเสร็จอาจยร์ได้ให้ร้องเพลง ฝึกกายบริหาร และให้กลับไปหัดร้องเพลงที่อาจาย์แจกให้เพลงมีตังนี้

    

การประยุกต์และการนำไปใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเด็กเรียนรวม ไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กได้ในอนาคตและยังสามารถนำเพลงที่อาจารย์ไปใช้สอนเด็กได้อีกด้วย
การประเมิน
           ตนเอง  เข้าเรียนช้านิดนึงเนื่องจากทำธุระอยู่ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมต่างไที่อาจารย์ให้ทำ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา มีพูดคุยกับเพื่อนบาง
           เพื่อน  มีพูดคุยบ้าง แต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียน และมีการโต้ตอบเวลาอาจารย์ถาม
           อาจารย์ มีการเตรียมเนื้อหาเพื่อมาสอนนักศึกษาได้ดี มีกิจกรรมมาให้ทำไม่เบื่อดีมากคะชอบ และตั้งใจอธิบายเนื้อหาที่มาสอน มีการเล่าสอดแทรกเพื่อไม่ให้นักศึกษาเบื่อ และยังมีเทคนิคในการสอนดีมากคะทำให้น่าเรียนไม่เบื่อ
Photobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image Hosting

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น