Welcome to my blogger

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 27 เมษายน 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.


            สำหรับวันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัดสอบร้องเพลงเด็กปฐมวัยที่อาจารย์เคยสอนร้อง มีคะแนนในการสอบ 5 คะแนน อาจารย์จับฉลากเลขที่ทีละคนแล้วให้เราออกไปจับฉลากเพลง ได้เพลงไหนร้องเพลงนั้น เมื่อร้องไม่ได้มีกติกา 3 ข้อ ดังนี้
1.ดูเนื้อเพลงได้   หัก 1 คะแนน
2.ให้เพิ่อนช่วยร้อง หัก 1 คะแนน
3.จับฉลากใหม่    หัก 0.5 คะแนน
            สำหรับฉันจับได้เพลง อาบน้ำ และร้องโดยไม่ได้ใช้ตัวช่วย สำหรับวันนี้ขณะเพื่อนๆสอบร้องเพลงบรรยากาศในห้องดูสนุกสนานมากคะ ได้เห็นเพื่อนๆทุกคนร้องเพลง ร้องเป็นบ้างไม่เป็นบ้างแต่ทุกคนก็พยายามทำเต็มที่คะ
 รูปบรรยากาศในห้องเรียน


การประยุกต์และการนำไปใช้

เราสามารถนำเพลง ไปใช้ในการเก็บเด็กสอนเด็กได้ในวันข้างหน้าและยังไปปรับใช้ในการเรียน ในรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย



การประเมิน
ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา มีการเตรียมการร้องเพลงมา แต่อาจมีตื่นเต้นบ้าง เลยมีร้องผิดร้องถูกบ้างแต่ก็พยายามทำเต็มที่คะ
            เพื่อน มีความสามัคคีกันดีมาก มีให้กำลังใจเพื่อนขณะเพื่อนร้องเพลง
อาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย ใจดี มีช่วยเคาะจังหวะให้เรา ให้โอกาส มีตัวช่วยให้เราถ้าร้องไม่ได้ใจดีมากๆคะ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 23 เมษายน 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.

            สำหรับวันนี้อาจารย์เรื่มด้วยการทำกิจกรรมสนุกๆก่อนเข้าสู่เนื้อหาคือกิจกรรม เหตุการณ์กระโดดร่ม ซึ่งอาจารย์ถามคำถามและให้ตอบ สิ่งที่อาจารย์ถามและเราตอบนั้นคือแบบทดสอบทางจิตวิทยา ที่คำตอบจะบ่งบอกถึงความเป็นตนของเรา  หลังจากนั้นได้เข้าสู้เนื้อหาเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  Individualized  Education  Program
     ** แผน IEP คือ แผนการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยเขียนร่วมกัน 3 คนสำคัญได้แก่ ผู้ปกครอง ครู ผอ.**
 แผน IEP 
  •  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  •  คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  •  ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล  
  ประโยชน์ต่อเด็ก  

  •  ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
จุดมุ่งหมายระยะยาว กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
จุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์จะสอนใครพฤติกรรมอะไรเมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)•พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
 3. การใช้แผน 
4. การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
            หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ได้ให้เราจัดกลุ่มแล้วลองเขียนแผน IEP ส่งมีคะแนนให้ 5 คะแนน

การประยุกต์และการนำไปใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปในวันนี้ ไปปรับใช้ในการเขียนแผน เพื่อใช้สำหรับเด็กพิเศษ และนำคำชี้แนะของอาจารย์ไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในการเขียนแผน

การประเมิน

  ตนเอง  มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ให้ทำ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา และตั้งใจในการเขียนแผนกลุ่มคะ
            เพื่อน มีพูดคุยบ้าง แต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียน และตั้งใจมากในการทำกิจกรรมต่างๆ
อาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะน่าฟังมีการเตรียมเนื้อหาเพื่อมาสอนนักศึกษาได้ดี มีกิจกรรมมาให้ ทำ ดูไม่น่าเบื่อ และอาจารย์มีความตั้งใจอธิบายเนื้อหาที่มาสอน มีการเล่าสอดแทรกเพื่อไม่ให้นักศึกษาเบื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 16 เมษายน 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.

สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
*หมายเหตุ*  เนื่องจากเป็นหยุดสงกรานต์
แต่จะมีการนัดชดเชยให้สอบร้องเพลง
เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยที่อาจารย์เคยสอน
 ในวัน จันทร์ที่ 27เมษายน 2558**

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 9 เมษายน 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.


          สำหรับวันนี้อาจารย์นำสีมาแจก ทุกคนดีใจกัมมากๆเรยจากนั้น อาจารย์ได้ เฉลยแบบทดสอบที่ให้ทำใคชนครั้งก่อน ว่าแนวทางการแก้ไขและวิธีการปรับพฤติกรรมเด็กได้อย่างไรถึงถูกต้องเหมาะสม
          จากนั้นอาจารย์ได้เข้าสู่เนื้อหาเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
ารช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้, มีความรู้สึกดีต่อตนเอง ,เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้” , พัฒนาความ
กระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น ,อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ ,จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่,เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่,คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่    
การรับรู้การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส กลิ่น----ตอบสนองอย่างเหมาะสม   
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
การกรอกน้ำ,การต่อบล็อก,ศิลปะ,มุมบ้าน,ช่วยเหลือตนเอง
ความจำ
จากการสนทนา,เมื่อเช้าหนูทานอะไร,แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง,จำชื่อครู เพื่อน
ทักษะทางคณิตศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก,เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยระยะเวลาสั้นๆ,ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง,ให้งานเด็กอย่างชัดเจนว่าต้องทที่ไหน,ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย,บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด,มีอุปกรณ์ไวับเปลี่ยนใกล้มือเป็นต้น

การประยุกต์และการนำไปใช้
สามารถนำที่เรียนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมได้ในว้นข้างหน้าต่อไป 
  
การประเมิน
                ตนเอง  มีเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีพูดคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย และมีการจำบันทึกที่อาจารย์สอนบ้าง
        เพื่อน ตั้งใจฟันที่อาจารย์สอนดี มีการพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์ดีคะ
          อาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนดี ทำให้ไม่น่าเบื่อ ยิ้มน่ารักมากคะ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             


วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 26 มีนาคม 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.

           สำหรับวันนี้อาจารย์ได้ให้ทำแบบทดสอบเพื่อทดสอบความรู้ที่เราได้เรียนมาทั้งหมดทั้งแต่ต้นเทอมว่าเราได้ได้ความรู้และเข้าใจเนื้อหามาแค่ไหน แบบทดสอบจะมี 5 ข้อ 10 คะแนน
          หลังจากทำแแบทดสอบเสร็จอาจารย์ได้พูดคุยถึงเรื่องที่เราจะเลือกโรงเรียนไปสังเกตการสอนถามว่าจะไปโรงเรียนไหนกันบ้างอย่างไร และให้ข้อแนะนำในการเลือก 

         การประยุกต์และการนำไปใช้
จากการทำแบบทดสอบจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดมากขึ้นและเรายังสามารถนำความรู้และตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาให้ทำนำ ไปปรับใช้ได้เพราะเมื่อเราไปสอนจริงอาจต้องเจอกับสถานะการณ์แบบนี้แน่นอน เราจึงนำความรู้ไปปรับใช้ได้
 
การประเมิน
           ตนเอง  มีเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำแบบทดสอบอย่างเต็มที่ และพยายามทำข้อสอบด้วยความตั้งใจ
           เพื่อน ตั้งใจทำแบบทดสอบกันอย่างสงบเรียบร้อยดีมากคะ
           อาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา ให้คำปรึกษาได้ดีทุกเรื่องที่สงสัยเกี่ยวกับการเรียนทั้งหมด



วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 19 มีนาคม 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.

          สำหรับวันนี้อาจารย์เริ่มด้วยกิจกรรมเที่ยวไร่สตอเบอรี่ เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน จากนั้นอาจารย์ได้เข้าสู่เนื้อหา การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
การสร้างความอิสระ
เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
อยากทำงานตามความสามารถ
เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การได้ทำด้วยตนเอง
เชื่อมั่นในตนเอง
เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ” 
จะช่วยเมื่อไหร่
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
เรียงลำดับตามขั้นตอน
สรุป
ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
            หลังจากสอนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมต่อ เป็นกิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ
            โดยอาจารย์แจกกระดาษและสีตามใจชอบให้จากนั้นวาดวงกลมด้วยสีไปเรื่อยๆตามความชอบจากนั้นให้ตัดวงกลมเราไปติดบนต้นไม้ที่อาจารย์เตรียมไว้ให้โดยออกไปติดที่ละคนจนครบ การกิจกรรมจะบ่งบอกถึงการอยู่ร่วมกัน และการเป็นตัวของตัวเองอย่างไร

รูปการทำกิจกรรม

  


 การประยุกต์และการนำไปใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์ในกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ในอนาคต และยังนำเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปเป็นแนวทางให้เรารู้ว่าารส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษเกี่ยวกับทักษะการช่วยเหลือตนเองได้อีกด้วย 
 การประเมิน
           ตนเอง  มีเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆไที่อาจารย์ให้ทำ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
           เพื่อน มีพูดคุยบ้าง แต่ตั้งใจมากในการทำกิจกรรมต่างๆ มีพูดคุยจอบคำถามกับอาจารย์ด้วยคะ
           อาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะน่าฟัง มีการเตรียมเนื้อหาเพื่อมาสอนนักศึกษาได้ดี มีพูดคุยบ้างขณะสอนทำให้ดูไม่น่าเบื่อมากคะชอบ มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำเสมอชอบมากๆคะ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 12 มีนาคม 2558

เวลา 13.10 น. - 16.40 น.

            สำหรับวันนี้อาจารย์เริ่มด้วยการพูดคุย เรื่องของการสอบบรรจุครู อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ของรุ่นพี่ให้ฟังก่อนว่าเราควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อจะได้สอบบรรจุได้ จากนั้นก็เข้าสู่กิจกรรม ทุ่งหญ้าซาวันน่า ต่อมาอาจารย์ได้ให้เอาชีสเพลงของสับปดาห์ที่แล้วมาร้องทบททวนเพลงกันใหม่ 

 รูปกิจกรรม ทุ่งหญ้าซาวันน่า


          หลังจากทำกิจกรรมเสร็จอาจารย์ได้เข้าสู่เนื้อหา การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  1. •เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม•ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  2. •ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  3. •บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  4. •ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  1. •การพูดตกหล่น•การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  2. •ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  1. •ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  2. •ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
  3. •อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  4. •อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  5. •ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  6. •เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  1. •ทักษะการรับรู้ภาษา
  2. •การแสดงออกทางภาษา
  3. •การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  1.  •การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  2.  •ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  3.  •ให้เวลาเด็กได้พูด
  4.  •คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)                                                                                    
  5.  •เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว                                                                                                                          
  6.  ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  7.  กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  8.  เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  9.  เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  10.  ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)
           
          หลังจากสอนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมต่อ เป็นกิจกรรมที่ใช้บำบัดเด็กพิเศษ
          โดยอาจารย์.อาจารย์แจกกระดาษ 100 ปอนด์ คู่ละ 1 แผ่น ให้แต่ละคู่ไปหยิบสีเทียนสีอะะไรก็ได้คนละ 1 แท่ง หลังจากนั้นอาจาย์ได้อธิบายการทำกิจกรรมคือ เมื่ออาจารย์เเปิดเพลงก็ให้นักศึกษาลากเส้นไปตามจะหวะของเพลงแต่เส้นที่ลากนั้นต้องเเป็นเส้นตรงห้ามมีเส้นนโค้ง พอเพลงจบอาจารย์ก็ให้เอาสีอะไรก็ได้มาระบายช่างที่ปิดสนืททุกช่องที่มีให้หมด 

รูปผลงานที่ทำกิจกรรม


  

รูปผลงานเพื่อนๆ


        การประยุกต์และการนำไปใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์ในกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ในอนาคต และยังนำเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปเป็นแนวทางให้เรารู้ว่าารส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ได้อย่างไร
 การประเมิน
           ตนเอง  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆไที่อาจารย์ให้ทำ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
           เพื่อน มีพูดคุยบ้าง แต่ตั้งใจมากในการทำกิจกรรมต่างๆ มีพูดคุยจอบคำถามกับอาจารย์ด้วยคะ
           อาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะน่าฟัง มีการเตรียมเนื้อหาเพื่อมาสอนนักศึกษาได้ดี มีพูดคุยบ้างขณะสอนทำให้ดูไม่น่าเบื่อมากคะชอบ มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำเสมอชอบมากๆคะ